เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย(Understanding Goal) :

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การหาพื้นที่และการหาปริมาตร เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึกเชิงปริภูมิและสามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาสถานการณ์เกี่ยวกับพื้นที่และปริมาตรได้

Week 4-6 ทบทวนทรงกระบอก



เป้าหมายความเข้าใจ: เพื่อทบทวนความเข้าใจจากพื้นฐานเรื่องของวงกลมและยังเป็นพื้นฐานการมองให้เห็นภาพเชื่อมโยงไปสู่รูปทรงอื่นๆต่อไป

Week
Input
Process
Output
Outcome
4 - 6

1-19
มิ.ย.
58
โจทย์ :
ทบทวนทรงกระบอก
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าหากจะต้องใช้แก้วน้ำตักน้ำเติมเหยือกน้ำให้เต็มจะต้องตักกี่ครั้ง?
- นักเรียนแต่ละกลุ่มมีวิธีการออกแบบรูปทรงกระบอกฐานวงกลมอย่างไร? มีกี่วิธี?
- นักเรียนสามารถสร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์เกี่ยวกับทรงกระบอกอย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ ลักษณะปริซึมรูปทรงต่างๆ
พร้อมวิธีคิดเกี่ยวกับโจทย์ประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

Brainstorm
ร่วมกันออกแบบสร้างรูปคลี่ของทรงกระบอก
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ปริซึมประเภทต่างๆ
- เกม สัมพันธ์กันฉันภาพ
- ภาพปริซึมประเภทต่างๆ
- เหยือกน้ำรูปทรงกระบอก
- แก้วน้ำ
- ปริซึมทรงกระบอกฐานวงกลม
- โจทย์ปัญหา
ชง:
- ครูให้นักเรียนดูสิ่งของต่างๆ

- ครูใช้คำถามกระตุ้น จากสิ่งของเหล่านี้นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?
เชื่อม : 
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่มีพื้นฐานจากทรงกระบอก
- ครูและนักเรียนร่วมเล่นเกม สัมพันธ์กันฉันภาพซึ่งเกี่ยวกับให้นักเรียนแต่ละคนร่วมเสนอความคิดเห็น ว่าเมื่อเห็นทรงกระบอก แล้วนึกถึงอะไร” (จับเวลา ประเภทละ 3 นาที นักเรียนแต่ละคนเขียนชื่อสิ่งของนั้นลงในสมุด)
- ครูและนักเรียนร่วมกันเล่นเกม สัมพันธ์กันฉันภาพ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าหากจะต้องใช้แก้วน้ำตักน้ำเติมเหยือกน้ำให้เต็มจะต้องตักกี่ครั้ง?


เชื่อม:
- นักเรียนร่วมกันทดลอง ตักน้ำใส่เหยือกกิจกรรมที่มองเห็นความสัมพันธ์ของปริมาตร
ชง: ครูกระตุ้นคิดด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าถ้าเรานำทรงกระบอกว่าคลี่ออกจะเป็นอย่างไร?
เชื่อม:
- นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ภาพคลี่ของปริซึมทรงกระบอกฐาน   ”วงกลมว่ามีรูปร่างเป็นอย่างไร? สามารถออกแบบสร้างทรงกระบอกจากรูปรูปคลี่ได้กี่แบบ?
- นักเรียนร่วมกันออกแบบสร้างรูปทรงกระบอกในรูปแบบที่แต่ละคนออกแบบไว้
- นักเรียนร่วมกันคิดโจทย์ปัญหาและออกแบบโจทย์ประยุกต์ สร้างโจทย์ให้ขึ้นมาด้วยตัวเอง

ภาระงาน
- เล่นเกม  สัมพันธ์กันฉันภาพ
- ร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทรงกระบอก
- ร่วมทดลองพร้อมบันทึกผลในกิจกรรม ตักน้ำใส่เหยือก
- วิเคราะห์ภาพคลี่ทรงกระบอก
 - วิเคราะห์โจทย์ปัญหา และออกแบบโจทย์ประยุกต์
ชิ้นงาน
- สมุดทดคิด บันทึกผลการทดลองและกระบวนการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับทรงกระบอก
- บันทึกกิจกรรมลงในสมุด
ความรู้
นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้ทรงกระบอกและการสร้างโจทย์ประยุกต์ขึ้นใหม่ด้วยตัวเอง
ทักษะ
ทักษะการให้เหตุผลและความคิดสร้างสรรค์
สามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับการความสัมพันธ์ของสิ่งของต่างๆได้
 ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวโจทย์ประยุกต์เรื่องทรงกระบอกได้
ทักษะการเห็นแบบรูป
- มองเห็นความสัมพันธ์กันของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและวงกลมได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนเกี่ยวกับ
เรื่องทรงกระบอกมาอธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 














1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เป็นเนื้อหาเรื่องทรงกระบอกเริ่มต้นด้วยการให้พี่ๆสำรวจรอบๆบ้านว่ามีสิ่งใดบ้างที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอก และลองคิดว่าที่บ้านของตนเองมีสิ่งใดบ้างที่เป็นลักษณะทรงกระบอก หลายคนรู้จักเป็นอย่างดีว่าทรงกระบอกมีลักษณะเช่นไรและเล่นเกม”สัมพันธ์ฉันกับภาพ”โดยให้พี่ๆตอบคำถามว่าเห็นทรงกระบอกแล้วนึกถึงอะไรโดยให้เวลาสามนาที่และคำตอบจะไม่ซ้ำกับคำตอบเดิม พี่ต่างเล่นเกมส์กันอย่างสนุกสนาน
    พี่เอ็มมี่: ครูคะแล้วขวดน้ำที่ตงหัวไม่เสมอเรียกทรงกระบอกไหมคะ/ครูดอกไม้: จัดว่าเป็นทรงกระบอกด้วยคะ
    พี่มายด์: แล้วขวดน้ำสิงหละคะครู
    เมื่อได้ยินคำถามของพี่มายด์หลายคนเกิดข้อสงสัยว่าจริงๆทรงกระบอกเป็นเช่นไรกันแน่พี่จึงได้ทำการทดลอง”แปลงร่างทรงกระบอก” โดยคุณครูให้พี่ๆคิดว่าถ้าเราตัดทรงกระบอกแล้วคลี่มันออกมาจะเป็นอย่างไร พี่ฟ้าชุซึ่งขณะนั้นถือกระดาษA4 ม้วนอยู่ในมือ ก็บอกว่าถ้าคลี่ออกคงเป็นคล้ายๆอย่างนี้คะ พี่กระถินเพิ่มเติมว่าตรงหัวตรงท้ายมันจะกลมๆด้วยคะ เพื่อนๆจึงคลายความสงสัยเรื่องทรงกระบอกได้ในระดับหนึ่ง ครูดอกไม้จึงกระตุ้นด้วยคำถามว่า”เราจะหาพื้นผิวได้อย่างไรในเมื่อเป็นรูปทรงแบบนี้”
    พี่หญิง: จากสูตรไงคะครู/ครูดอกไม้: แล้วสูตรมาจากไหนคะ
    พี่ฟ้ารุ่ง: จากวงกลมและสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เราคลี่กันเมื่อสักครู่ไงคะ
    จากนั้นพี่ๆจึงได้ทำแบบทดสอบเรื่องการหาพื้นที่ผิวของทรงกระบอกและในวันต่อมาเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องการหาปริมาตรครูจึงนำเหยือกน้ำและแก้วใบเล็กมาวางไว้แล้วถามพี่ๆว่า”ต้องตักน้ำกี่แก้วถึงจะเต็มเหยือก” ครั้งแรกหลายคนตอบบาเดาสุ่มว่า ห้าแก้ว หกแก้งหรือสิบแก้วก็มีแต่ พี่ปาล์มบอกว่าต้องรู้ก่อนนะคะว่าแก้วมีปริมาตรเท่าไหร่และเหยือกมีปริมาตรเท่าไหร่ จากนั้นแต่ละกลุ่มจึงทำการทดลองมีทั้งได้คำตอบตรงกับที่และไม่ตรงกับทีคาดเดาไว้ในตอนจากนั้นพี่ยังได้ทำแบบทดสอบเกี่ยวกับกาหาปริมาตรของทรงกระบอกและร่วมกันออกแบบโจทย์ประยุกต์เองอีกด้วย

    ตอบลบ