เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย(Understanding Goal) :

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การหาพื้นที่และการหาปริมาตร เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึกเชิงปริภูมิและสามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาสถานการณ์เกี่ยวกับพื้นที่และปริมาตรได้

Week10-11 การแก้โจทย์ปัญหาการหาพื้นผิวและปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิต 3 มิติ


เป้าหมายความเข้าใจ: เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะทางด้านคณิตศาสตร์และสามารถคิดวิเคราะห์โจทย์ประยุกต์และความสัมพันธ์ ของการหาพื้นที่ผิวและการหาปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ
Week
Input
Process
Output
Outcome
10-11

13-24 ก.ค.58
โจทย์ :
การแก้โจทย์ปัญหาการหาพื้นผิวและปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิต 3 มิติ
Key Question :
- นักเรียนคิดว่าตนเองมีความเข้าใจอย่างไรเกี่ยวกับการหาพื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ ด้วยความสัมพันธ์จากภาพคลี่ต่างๆ และแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์อย่างไร?
- นักเรียนคิดว่าปริมาตรของกระดาษA4 ในแนวตั้งกับแนวนอนมีปริมาตรแตกต่างกันอย่างไร?
 เครื่องมือคิด :
Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์โจทย์ประยุกต์และความสัมพันธ์ ของการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)
Mind mappingสรุปองค์ความรู้หลังเรียนคณิตศาสตร์ ม.3 Quarter 1/58
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้   :
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศในห้องเรียน
- แผ่นกระดาษA4 ที่มี 2 สี เพื่อหาปริมาตร
- กระดาษชาร์ต
- โจทย์ประยุกต์และความสัมพันธ์ ของการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าตนเองมีความเข้าใจอย่างไรเกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ ด้วยความสัมพันธ์จากภาพคลี่ต่างๆอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคน นำเสนอความเข้าใจของตนเอง ในแต่ละละเรื่อง อาทิเช่น ที่มาของการหาพื้นที่ผิวข้างของรูปทรงกระบอก หรือ ความสัมพันธ์ของรูปทรงกระบอกกับรูปทรงกรวย
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าถ้าต้องการทำกรวยอันหนึ่งด้วยไม้ ให้กรวยนี้มีรัศมีด้านนอกเท่ากับ 15 เซนติเมตร รัศมีด้านใน 13 เซนติเมตร ความสูงด้านนอก 10 เซนติเมตร ความสูงด้านใน เซนติเมตร อยากทราบว่า เนื้อไม้ที่ใช้ทำกรวยจะมีปริมาตรเท่าใด?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนออกแบบวิธีคิดของตนเอง ตามความเข้าใจ ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก พร้อมนำเสนอวิธีคิด ให้เพื่อนและครูร่วมรับฟัง
ครูแจกใบงาน โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิต สามมิติ
(ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม) ให้นักเรียน

- นักเรียนแต่ละคนแสดงวิธีคิดของตนเอง ลงในใบงาน พร้อมร่วมแชร์ให้เพื่อนและคุณครูได้ร่วมรับฟังและเสนอในแต่ละข้อ
ใช้ : คุณครูให้นักเรียนแต่ละคนจับฉลากโจทย์ประยุกต์ คนละ โจทย์ พร้อมแสดงวิธีคิดลงในสมุด และนำเสนอให้เพื่อนและครูได้รับฟัง
นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์เกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิต สามมิติ
(ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม) คนละ ข้อ พร้อมนำเสนอวิธีคิด ลงในสมุด
นักเรียนแต่ละคน สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ(ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม) จากความสัมพันธ์ที่ได้จากภาพคลี่ ลงในสมุด
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้หลังเรียนคณิตศาสตร์ ม.3 Quarter 1/58แต่ละคน
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์ประยุกต์และความสัมพันธ์ ของการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)
- ออกแบบโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ(ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม) จากความสัมพันธ์ที่ได้จากภาพคลี่ ลงในสมุด
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกแสดงวิธีการคิดและการแก้โจทย์ปัญหา
- ใบงานการแก้โจทย์ปัญหาสถานการณ์และวิธีคิด
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การหาพื้นที่ผิวและปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิต 3 มิติลงในสมุด
Mind mapping(หลังเรียน)คณิตศาสตร์ .3 Quarter 1/58
ความรู้
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์โจทย์ประยุกต์และความสัมพันธ์ ของการหาพื้นที่ผิวและการหาปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)
ทักษะ
ทักษะการให้เหตุผล
สามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหาต่างๆได้
 ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถแก้ปัญหาต่างๆ   เกี่ยวโจทย์ประยุกต์เรื่องรูปทรงเรขาคณิตสามมิติได้
ทักษะการเห็นแบบรูป
- มองเห็นความสัมพันธ์กันของรูปร่างและรูปทรงของรูปเรขาคณิตได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนเกี่ยวกับเรื่องทรงกระบอกมาอธิบายความเข้าใจของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน









1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนในQuarterนี้เพื่อเป้นทบทวนความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมดครูจึงใช้คำถามกระตุ้นคิดว่า ”นักเรียนคิดว่าตนเองมีความเข้าใจอย่างไรเกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ ด้วยความสัมพันธ์จากภาพคลี่ต่างๆอย่างไรบ้าง?”
    พี่ฝน: เรื่องทรงกระบอกคะครูเพราะเป็นเรื่องที่หนูคิดว่าง่ายที่สุดคะ
    พี่กีตาร์: เรื่องที่หนูว่ายากที่สุดคือเรื่องกรวยกับพีระมิดคะแต่เรื่องอื่นๆพอเข้าใจคะ
    ในสัปดาห์นี้พี่ๆจึงเน้นเกี่ยวกับการทำแบบทดสอบที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับO-Net พร้อมทั้งจับฉลากโจทย์ประยุกต์คนละ 1 โจทย์พร้อมแสดงวิธีคิดลงในสมุด และนำเสนอให้เพื่อนและครูได้รับฟังเพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจร่วมกัน มีเพื่อนบางคนที่ยังไม่เข้าใจในบางเช่นพี่กระถินยังไม่เข้าใจเรื่องงวงกลม พี่ฟ้ากัลที่มีความเข้าใจมากกว่าก็จะช่วยอธิบายเพิ่มเติมและในเนื้อหาส่วนอื่นๆอีกเช่นกันเพื่อนคนใดที่ยังขาดเพื่อนคนที่เข้าใจจะช่วยเพิ่มเติมให้เป็นการเรียนรู่ร่วมกันอย่างแท้จริงจากนั้นพี่ๆม.3จึงทำการสรุปองค์ความรู้หลังเรียนคณิตศาสตร์ ม.3 Quarter 1/58รายบุคคล

    ตอบลบ