เป้าหมายหลัก

เป้าหมาย(Understanding Goal) :

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การหาพื้นที่และการหาปริมาตร เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึกเชิงปริภูมิและสามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาสถานการณ์เกี่ยวกับพื้นที่และปริมาตรได้

week1-3ทบทวนวงกลม


เป้าหมายความเข้าใจ: นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้เรื่องวงกลม ความสัมพันธ์ของเส้นรอบวงและการหาพื้นที่

Week
Input
Process
Output
Outcome
1
14 -15
พ.ค. 58
โจทย์ :
ทบทวนวงกลม
Key Questions :
นักเรียนมีวิธีการคิดอย่างไร
- นักเรียนสามารถวัดความยาวเส้นรอบวงได้อย่างไร
- นักเรียนคิดว่าจะต้องทำอย่างไรให้รูปวงกลมกลายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
เครื่องมือคิด :
- Show and Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- สิ่งของที่มาหน้าตัดเป็นวงกลม
- เชือก
- ไม้บรรทัด
- กรรไกร
- กระดาษ
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนรู้ผ่านมาแล้ว
เชื่อม : นักเรียนแลกเปลี่ยนสะท้อนทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ผ่านมาแล้ว
ชง: ครูพานักเรียนเล่นเกมการคิดโดยแบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 3 คนจับฉลากเลือกปริศนา
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น และนำเสนอวิธีคิดต่างๆ
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนเรื่องวงกลม
เชื่อม : นักเรียนทำการหาความยาวรอบวงกลม 
ใช้ :
- ครูให้นักเรียนทำโจทย์เกี่ยวกับการหาเส้นรอบวงที่ท้าทายมากขึ้น

ภาระงาน
- เล่นเกมการคิด
- แก้โจทย์การหาเส้นรอบวงและพื้นที่วงกลม
ชิ้นงาน
- ใบงาน

ความรู้
นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้เรื่องวงกลม ความสัมพันธ์ของเส้นรอบวงและการหาพื้นที่
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการเห็นแบบรูป
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 








1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์แรกของการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ทั้งตัวคุณครูเองและพี่ๆเองต่างก็ตื่นเต้นเพราะเป็นวิชาแรกที่เริ่มเรียนรู้ร่วมกัน หลังจากทำความรู้จักกันและกันแล้วครูดอกไม้จึงสำรวจว่าพี่ๆมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เรื่องใดแล้วบ้าง โดยกระตุ้นด้วยคำถามกับพี่ๆว่า”นักเรียนมีความชื่นชอบในเรื่องใดในวิชาคณิตศาสตร์และมีความถนัดเรื่องใดมากที่สุด?”
    พี่นัป: ชอบเพราะได้ฝึกคิดครับส่วนความถนัดเป็นเรื่องความน่าจะเป็นที่พึ่งเรียนผ่านมาในตอนม.2 นี้เองครับ
    พี่ทิพย์: เรื่องที่ชอบในคณิตศาสตร์คือการคำนวณคะเพราะถ้าเราคำนวณได้อย่างแม่นยำจะทำให้เราทำเรื่องต่างๆได้ดีขึ้นคะ เช่นการซื่อของ ขายของหรือแม้แต่เรื่องเรียนก็ตามคะ
    หลังจากที่สำรวงสอบถามกันแล้วคุณครูดอกไม้จึงพาพี่ๆม.3เล่นเกมการคิดโดยการนำตะเกียบมาวางเป็นรูปต่างๆแล้วมีโจทย์กำหนดให้ในแต่ละข้อ เช่นขยับไม้ได้สองชิ้นให้รูปนี้กลายเป็นคนฯลฯ พี่ๆต่างสนุกสนานและคิดกันอย่างตั้งใจมีทั้งแก้โจทย์ได้บ้างและไม่ได้บ้าง
    พี่ฟิวส์: ครูครับขอตั้งโจทย์ให้เพื่อนแนะครับ “โดยพี่ฟิวส์วางไม้เป็นรูปสี่เหลียมซ้อนกันหลายๆรูปแล้วให้เพื่อนบอกว่ามีรูปสี่เหลี่ยมทั้งหมดกี่รูป”
    เพื่อนๆต่างพากันคิดด้วยความฉงนว่ามีกี่รูปกันแน่ บางคนบอกแปดบางคนบอกเก้า บอกคนบอกสิบหรือสิบสองก็มีแต่พี่ฟิวส์ไม่ได้เฉลยโดยให้เหตุผลว่าให้เพื่อนหาคำตอบด้วยตัวเอง เพื่อนๆต่างกระวนกระวายอยากรู้คำตอบ จนกระทั้งในวันต่อมาพี่ฟ้ากันจึงเป็นคนเฉลยว่ามีทั้งหมดสิบสองรูปเพราะต้องนับจากสี่เหลี่ยมที่อยู่รอบนอกด้วย
    เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาที่จะเรียนคุณครูจึงใช้คำถามกระตุ้นการคิดกับพี่ๆม.3 ว่า”พี่ๆรู้จักรูปทรงเรขาคณิตใดบ้าง?”
    คำตอบนั้นหลากหลายมีทั้งที่เป็นรูปร่างและรูปทรงแต่พี่ๆยังมีความสับสนเล็กน้อยของความแตกต่างระหว่างรูปร่างและรูปทรง และเนื้อหาแรกที่จะเรียนนี้เป็นเรื่องของวงกลมโดยพี่ๆจะไดเริ่มต้นรู้จักที่มาของวงกลมก่อน พี่ๆแบ่งกลุ่มทำการทดลอง ”วงกลมนี้มาได้อย่างไร” โดยครุให้กระดาษA4แล้วให้โจทย์พี่ๆว่า “ทำให้อย่างไรก็ได้ให้เป็นวงกลม” พี่ๆก็ใช้อุปกรณ์รูปร่างต่างๆที่มีลักษณะเป็นวงกลมมาเป็นแม่แบบในการวาดและตัดต่อมาครูให้โจทย์ว่า “ทำอย่างไรก็ได้ให้กลับไปเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดิมโดยไม่ต้องตัดส่วนใดส่วนหนึ่งทิ้งไป” หลายคนเกิดข้อสงสัยว่าจะเป็นไปได้อย่างไร พี่ฟลุ๊ค: เราเคยทำแล้วแบบนี้ตอนประถม แต่คิดไม่ออกว่าต้องทำอย่างไร
    หลายคนจึงนึกย้อนไปตอนประถมว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
    พี่ฟิล์ม: ต้องตัดๆเป็นแหลมๆหรืออะไรประมานนี้หละ
    สนทนากันอยู่นานยังไม่ได้คำตอบคุณครูจึงให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลและนำมาอธิบายให้เพื่อนๆเข้าใจร่วมกัน จากนั้นพี่ๆจึงทำการหาที่มาของค่าπ โดยนำสิ่งของทุกอย่างที่รอบๆบ้านที่มีลักษณะเป็นวงกลมมาการทดสอบ หลายคนจึงคลายความสงสัยว่าค่าπ มาได้อย่างไรและพี่ก็ได้ทำแบบทดสอบโดยคุณครูมีโจทย์ประยุกต์ต่างๆ แต่เมื่อปะทะกับโจทย์ปัญหาพี่ๆยังไม่สามารถแก้โจทย์ได้ในเรื่องของการหาพื้นที่ คุณครูจึงได้ทำ Lesson Study เพื่อให้พี่ๆมีความเข้าใจเพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วย










    ตอบลบ